ลูกอม - วัชราวลี (Piano)

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559


เมื่อเห็นสถิติที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่งบุตรหลานเรียนกวดวิชาอย่างต่ำเดือนละ 3,000 บาทต่อคน สูงสุดถึง 80,000 บาทต่อปี เห็นจำนวนเงินแล้วก็เหนื่อยแทนแล้ว หากครอบครัวที่มีรายได้น้อย แต่อยากให้ลูกเรียนเก่งล่ะ จะทำอย่างไร?

ไม่ต้องไปถึงแดนกิมจิ เพราะ ฮันฮีซ็อก (Han Hee-Seok) เจ้าของหนังสือที่บรรจุเคล็ดลับดีๆ พ่อจนสอนลูกเรียนเก่ง นานมีบุ๊คส์นำมาพิมพ์เป็นในฉบับภาษาไทย ให้เรียนรู้วิธีการง่ายๆ ที่เริ่มจากตัวพ่อแม่มาฝากกัน

ฮันฮีซ็อก ยอดคุณพ่อคนนี้ มีภรรยา 1 ลูก 3 เขาเป็นนักเขียนนิยายอิสระ มีรายได้ไม่แน่นอน บางครั้งก็ต้องรับเหมาก่อสร้างงานไม้ งานอิฐ แต่ก็ฮึดสู้ หาวิธีฝึกสอนลูกให้มุ่งมั่นในการเรียนอย่างมีระบบ แบบไม่ต้องพึ่งโรงเรียนกวดวิชา เพราะไม่มีเงินทำได้จริงมาแล้วในตลอด 10 ปี ที่พยายามเป็น โค้ชการเรียนของลูกจนกระทรวงศึกษาธิการเกาหลีมอบรางวัล ต้นแบบการฝึกสอนลูกให้เก่งโดยไม่ต้องเรียนกวดวิชากับผลลัพธ์ที่ดีเหลือเชื่อ จากลูกสาวที่เคย เกือบที่โหล่กลายเป็น ที่ 1” ของโรงเรียนติดต่อกันตั้งแต่ ม.3-ม.6 และสอบเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐติด แบบไม่เสียเงินกวดวิชาสักบาท!!!

มาดูเคล็ดไม่ลับของสุดยอดโค้ชคุณพ่อ ฮันฮีซ็อก

1. ทำตัวกลมกลืนกับลูกๆ พูดภาษาเดียวกัน กินเหมือนกัน ให้ลูกๆเชื่อใจว่าเป็นพวกเดียวกัน ฉะนั้นเมื่อเราสอนเราพูดอะไร ลูกๆจะเชื่อฟังเราอย่างดี อีกทั้งเรียนรู้รสนิยม พฤติกรรม การพูดจาของลูกและเพื่อน ๆ ไว้บ้างเพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างในครอบครัว

2. พาลูกไปเปิดหูเปิดตา เข้าชมนิทรรศการหรือกิจกรรมฟรีๆ เช่น งานแสดงภาพวาด นิทรรศการศิลปะต่างๆ ละครเวที งานแสดงดนตรี ของนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มักจะให้เข้าชมฟรี เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างประสบการณ์ทางศิลปะพัฒนาสมองและจิตใจลูกๆ ทำให้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และเข้าใจสิ่งต่างๆ มากขึ้น

3. ตัดบทความจากหนังสือพิมพ์ เลือกคอลัมน์ที่เหมาะสมกับลูก ผู้เขียนแสดงทัศนะคติชัดเจน เป็นบทความสั้น ๆ อ่านจบภายใน 5 นาที วันละ 1 บทความ ให้ลูกอ่านเป็นประจำช่วยสร้างมุมมองความคิดใหม่ๆ เข้าใจเหตุการณ์บนโลกอย่างลึกซึ้ง และสร้างกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและมีเหตุมีผล

4. เมื่อเด็กอ่านบทความจากหนังสือพิมพ์บ่อย ๆ จะทำให้รู้เรื่องรอบตัวมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรหาเรื่องรอบๆตัวมาอภิปรายร่วมกับลูก เพื่อให้ทราบทัศนคติของลูก อีกทั้งช่วยสร้างเสริมให้ลูกรู้จักคิดและใช้เหตุผล

5. ให้ลูกๆดูโทรทัศน์ได้ แต่ควรวางแผนอย่างเหมาะสม ควรเลือกให้ดูเฉพาะรายการที่มีประโยชน์ เช่น สารดคี เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กับลูกๆ

6. ควบคุมบรรยากาศภายในบ้าน เช่น เมื่อใกล้วันสอบ ทุกคนในบ้านงดดูทีวีโดยเด็ดขาด เป็นเวลา 20 วัน ไม่เฉพาะลูกแต่ทั้งพ่อแม่หรือพี่น้องก็ห้ามดูเช่นกัน จะช่วยให้ลูกมีสมาธิ มีความตั้งใจและความสามัคคีของคนในครอบครัว ลูกไม่รู้สึกเควงคว้างที่ต้องทำอยู่คนเดียว

7. พ่อแม่หมั่นเข้าร่วมฟังสัมมนาแนะแนวการศึกษาของลูก เพื่อเก็บข้อมูล และเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือลูก ๆ ในการสอบเข้าโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย

8. ยืมหนังสือวรรณกรรมจากห้องสมุดให้ลูกอ่าน การอ่านจะช่วยพัฒนาทักษะทางด้านภาษา การคิดวิเคราะห์ และการจับใจความสำคัญ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานในการเรียน

9. เมื่อลูกทำสิ่งใดได้สำเร็จ พ่อแม่ต้องรู้จักชมเชยอย่างเหมาะสมและถูกจังหวะ ไม่เน้นจำนวนครั้ง แต่ใส่ใจทุกคำพูด เลี่ยงการพูดชมแบบเดิมๆเพราะคุณค่าจะลดลง ควรพูดให้กระชับ อาจใช้มือลูบหัวหรือลูบหลังแทนคำพูดก็ได้ และหาวิธีชมเชยแบบใหม่ๆเสมอ แต่ห้ามเปรียบเทียบหรือเติมเงื่อนไขในคำชมเชยเด็ดขาด

10. สุดท้ายพ่อแม่อย่าไปเร่งเด็กๆ ปล่อยให้พวกเขารักษาระดับการวิ่งของตนเองต่อไป พ่อแม่คอยเป็นกำลังใจและช่วยเหลืออยู่ข้างๆจะดีกว่า จงจำไว้ว่า การเรียนคือหน้าที่ของลูก ส่วนหน้าที่ของพ่อแม่คือสนับสนุน

หนังสือเล่มนี้จะปลุกแรงบันดาลใจให้ทุกครอบครัวมีหนทางออกสว่างไสว แม้ไม่ต้องส่งลูกเรียนกวดวิชาเหมือนใครๆ ก็ยังเรียนเก่งเป็นที่ 1 ได้ ซึ่งเป็นต้นแบบที่ยืนยันได้ว่า ไม่ต้องกวดวิชาก็เรียนเก่งได้ด้วยความเอาใจใส่ทุ่มกายทุ่มใจของพ่อแม่